วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์ เป็นคำมาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า"สุนทรียะ" แปลว่าดี งาม สุนทรียศาสตร์จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่าวิชาที่ว่าด้วยความงาม ในความหมายของคำเดียวกันนี้ นักปราชญ์ ชาวเยอรมันชื่อAisthetics Baumgarten (1718 - 1762) ได้เลือกคำในภาษากรีกมาใช้คำว่า Aisthetics ซึ่งหมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) เป็นวิชาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแห่งความงามตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics ส่วนในภาษาไทยใช้คำว่าสุนทรียศาสตร์หรือวิชาศิลปะทั่วไป ดังนั้น จึงถือว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์หรือเมื่อกล่าวถึงสุนทรียศาสตร์เมื่อใดก็มักจะเกี่ยวข้องกับงานศิลปะนั่นเอง

ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์และศิลปะ
เนื้อหาของสุนทรียศาสตร์นั้นว่าด้วยความคิดรวบยอดเรื่องความงาม การที่จะนิยามว่าความงามคืออะไรนั้นก็ยังไม่เป็นที่ยุติและเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญของสุนทรียศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่ปัญหาที่ว่าความงามคืออะไรนั้น นักศิลป์ทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไรนัก แต่เขาจะพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อสร้างความงามขึ้นด้วยศิลปะของเขา ซึ่งความสนใจดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสัญชาติญาณของศิลป์ แต่จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์ก็คือความพยายามยกระดับของการสร้างสรรค์และความสนใจในศิลปะซึ่งเป็นไปตามสัญชาตญาณนั้นให้เป็นพฤติกรรมที่เต็มไปด้วยปัญญา ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการขั้นมูลฐานของพฤติกรรมเกี่ยวกับศิลปะ ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงเริ่มเรื่องด้วยการพิจารณาจากความสนใจในศิลปะและการสร้างสรรค์ศิลปะ ซึ่งคำตอบของสุนทรียศาสตร์ก็ได้จากการพยายามค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง ความหมายของความงามก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์
จากประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์ก็คือการค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง แต่ก็มิได้หมายความว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์จะจำกัดอยู่แค่การค้นหาความงามจากความหมายของศิลปะที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความงามของธรรมชาติด้วย
สำหรับคำว่า “สุนทรียศาสตร์” ความหมายที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้มีขอบเขตอิสระมากขึ้น ความหมายของคำนี้ในทางวิชาการก็คือ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปะแขนงต่างๆ รวมถึงหลักการของศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ประสบการณ์ทางศิลปะ นอกจากนี้ขอบเขตของความหมายยังได้ครอบคลุมไปถึงศิลปะกับชีวิตและสังคมร่วมทั้งความงามและปรากฏการณ์ที่งดงามของธรรมชาติอีกด้วย
สุนทรีภาพ (Aesthetic) กล่าวทางศิลปะ หมายถึง ความรู้สึกโดยธรรมดาของคนเราทุกคนซึ่งรู้จักค่าของวัตถุที่งาม ดังยกตัวอย่าง กล่าวถึงวัตถุอันเดียวกันอาจทำให้ชาวบ้านธรรมดาหรือตาสีตาสารู้สึกว่างามไพเราะ แต่ผู้ซึ่งได้รับการศึกษาและมีความรู้สึกสูงอาจรู้สึกเห็นเป็นตรงข้ามก็ได้ เช่น ตาสีตาสาชอบสิ่งที่มีสีฉูดฉาด ชอบเสียงดนตรีที่ดังจนหนวกหู ถ้าได้เห็นภาพสีที่ดีเลิศ มีองค์ประกอบเป็นสีที่ประสานกันอย่างสุขุม หรือฟังเสียงดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นโดยมีความประสานกันอย่าง “ซิมโฟนี” (Symphony) ตาสีตาสาอาจรู้สึกเฉยๆ ไม่รู้สึกว่างามหรือฟังไพเราะจับใจ ซ้ำจะเกิดระคายตารำคาญหูของแกด้วยก็ได้ ซึ่งแท้จริง ความรู้ค่า (Appreciation) ต่อการประจักษ์ (Manifestation)ของศิลปะชั้นต่ำที่ว่านี้ ก็เท่ากับเป็นความรู้สึกเบื้องต้นของความงามที่เป็นสุนทรียภาพ ถ้าต่อไปเจริญคลี่คลายขึ้นแล้วก็จะเปิดช่องให้ประสาทอินทรีย์ของตาสีตาสารู้สึกนิยมยินดี คือ รู้ค่าของวิจิตรศิลป์นั่นเอง (ศิลป์ พีรศรี,2526:17)



ความหมายของศิลปะ


คำว่า "ศิลปะ" เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง เป็นศาสตร์ที่รวมผลงานที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์ที่ประกอบไปด้วย จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์และศิลปะการแสดง ดนตรี วรรณศิลป์หรือกระทั่ง ประยุกต์ศิลป์ซึ่งเป็นผลงานที่มนุษย์พบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนให้คุณค่าและประโยชน์แก่มวลมนุษย์ งานศิลปะแม้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางผลผลิตเพื่ออาหารทางกายแต่คุณสมบัติที่สำคัญยิ่งคือความงามที่ทำให้เกิดความรู้สึก ซาบซึ้งในคุณค่าของความงามหรือความพึงใจที่เรียกว่าคุณค่าทางสุนทรียะ ซึ่งคุณค่าทางสุนทรียะนี้เองเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เลือกบริโภคผลงานศิลปะที่มีคุณค่า และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

ความหมายของศิลปะ
ศิลปะตรงกับภาษาอังกฤษว่า "ART" การทำความเข้าใจในความหมายของคำว่าศิลปะเป็นเรื่องที่ยากเพราะศิลปะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง และการแสดงอารมณ์จากความรู้สึกภายในใจของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความงามความพอใจของแต่ละคน มนุษย์มีความชอบและชื่นชมในความงามแตกต่างกัน ซึ่ง คงเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานในเรื่องศิลปะ
ความหมายของศิลปะตามแนวคิดของศิลปิน

1. ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ (Arts Representation) ผู้ให้นิยามคำนี้เป็นนักปรัชญาชาวกรีก ชื่อว่า (Plato)
ซึ่งในลักษณะแห่งความจริง ผลงานศิลปะอาจจะมีทั้งประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ หรือไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติก็ได้ กล่าวคือถ้าเป็นภาพเขียนสิ่งของธรรมชาติหรือภาพมนุษย์ก็จัดได้ว่าเป็นงานประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ แต่หากว่าเป็นการเขียนภาพแสดงความพิสดารของการใช้สีสัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกสนองต่ออารมณ์ตามต้องการก็เป็นผลงานที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบธรรมชาติ แต่ก็ใช้ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ

2. ศิลปะคือรูปทรง (Arts Perform) เนื่องจากงานศิลปะไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ถ้าปราศจากรูปทรง (Form) การที่เราชื่นชมศิลปวัตถุที่มีรูปทรงสวยงาม ทั้งนี้เพราะลักษณะที่สำคัญคือมีความกลมกลืนขององค์ประกอบอันเป็นเอกภาพนั่นเอง

3. ศิลปะคือการแสดงออกซึ่งอารมณ์ (Arts Expressionism) ความคิดเรื่องศิลปะ คือการแสดงออกซึ่งอารมณ์ เพราะว่าวัตถุประสงค์ของศิลปะไม่ใช่เสนอความงามในรูปทรงของสีสันหรือเสียง และไม่ใช่เพียงแค่การลอกเลียนแบบจากธรรมชาติ แต่อารมณ์ทางศิลปะนั้นต่างหาก ที่แตกต่างจากการแสดงอารมณ์แบบอื่น ๆ ดัง ต่อไปนี้
3.1 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจตนาหรือความตั้งใจ
3.2 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ ต้องมีจุดประสงค์หรือคุณค่าอยู่ในตัวเอง โดยไม่มีเจตนาอื่นซ้อนเร้น เคลือบแฝง
3.3 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ แสดงให้รู้ว่าบุคคลมีปฏิกิริยาหรือมีความรู้สึกในทางสุนทรียะ คือความชอบไม่ชอบ
3.4 สื่ออารมณ์ในศิลปะ การแสดงอารมณ์มีความหมายถึงคุณค่าอยู่ในตัว เป็นลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับสื่อประเภทอื่น ๆ เช่นการพูดไม่ว่าเราจะ พูดถึงเรื่องอะไร การตีค่าความหมายก็จะหมายถึงสิ่งที่เราพูด แต่ในทางดนตรีหรือนาฏศิลป์นั้นคำพูดแต่ละคำมีความหมายในตัวเองโดยเป็นคำที่มีเสียงไพเราะการรับรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ สีสันและรูปทรงจะทำให้สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไรและใช้ประโยชน์อะไร
4. ศิลปะ คือการแสดงออกทางความรู้สึก ศิลปินอาจจะแก้ไขแต่งเติมดัดแปลงผลงานของเขาโดยมีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เช่น การสื่อความหมายลงในภาพที่วาดทิวทัศน์ ศิลปะจึงเป็นการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากธรรมชาติ โดยมีมนุษย์เป็นตัวถ่ายทอดความประทับใจ แต่การรับรู้ของผู้ชมอาจจะต้องการชื่นชมความงามในรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่
4.1 ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) เป็นศิลปะที่ไม่ซับซ้อนมีเนื้อหาสาระที่ปรากฏเด่นชัด แต่ผู้สร้างและผู้ชมต้องมีความรู้เรื่องนั้นด้วย เช่นภาพคน ภาพสัตว์
4.2 ศิลปะแบบกึ่งนามธรรม (Semiabstract) เป็นการถ่ายทอดที่ผิดเบนไปจากรูปธรรมหรือ แบบเหมือนจริงด้วยการตัดทอนรูปทรงจากของจริงให้เรียบง่าย แต่ยังมีเค้าโครงเดิมอยู่สามารถดูรู้ว่าเป็นภาพอะไร
4.3 ศิลปะแบบนามธรรม (abstract) เป็นศิลปะประเภทที่ไม่มีความจริงเหลืออยู่ เพราะถูกตัดทอนให้เหลือแค่เส้นสี น้ำหนัก ที่ก่อให้เกิดความงามตามอารมณ์ ความรู้สึกเป็นสิ่งที่เหนือความเป็นจริงต้องใช้จินตนาการในการรับรู้รับชม

ประเภทของงานศิลปะ
เราอาจแบ่งประเภทของงานศิลปะตามหลักการทางสุนทรียศาสตร์ได้เป็น 2 ประเภทคือ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
1. วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) คือศิลปะที่งดงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 สาขา คือ
1.1จิตรกรรม
1.2 ประติมากรม
1.3 สถาปัตยกรรม
1.4 ภาพพิมพ์
1.5 วรรณกรรม
2. ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts) คือศิลปะที่สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายแสดงความงามร่วมกับประโยชน์ทางการใช้สอยเช่น ออกแบบนิเทศศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์ มัณฑนศิลป์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น

สรุป
ศิลปะ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์เป็นสิ่งที่ให้คุณค่ามหาศาลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ศิลปะที่ให้คุณค่าทางจิตใจหรือวิจิตรศิลป์ เป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าในการพัฒนามนุษย์ให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่ศิลปะที่ให้คุณค่าทางร่างกายหรือประยุกต์ศิลป์ เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์พบเห็นเข้าใจและเห็นคุณค่าคุณประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์ [Visual Art] คือ ศิลปะที่สามารถรับรู้ได้จากประสาทสัมผัสทางตา หรือโดยการมองเพื่อให้เห็นความงามจากรูปลักษณะ เมื่อพบเห็นแล้วทำให้มีความเข้าใจร่วมกันได้
ทัศนศิลป์ ได้แก่ งานที่เป็นวิจิตรศิลป์แขนงต่างๆ คือ
จิตรกรรม [Painting]
ประติมากรรม [Sculpture]
สถาปัตยกรรม [Architecture]
ภาพพิมพ์ [Graphic Art]
จิตกรรม คือ การเขียนและระบายสีภาพด้วยสีหลายๆสี รวมไปถึงการวาดภาพ [drawing] เป็นงาน2 มิติ สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้สีระบายในลักษณะเป็นเส้นหรือการแรเงา จิตรกรรมหรือการวาดภาพ สามารถสร้างสรรค์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การเขียนภาพหุ่นนิ่ง การเขียนภาพคนเหมือน การเขียนภาพนามธรรม เป็นต้น ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เรียกว่า "จิตรกร"

ประติมากรรม คือ ศิลปะที่เกิดจากการปั้น การหล่อและการแกะสลัก เป็นงานในลักษณะเป็นงาน 3 มิติ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ประติมากรรมนูนต่ำ
2. ประติมากรรมนูนสูง
3. ประติมากรรมลอยตัว

ปฏิมากรรม คือ ศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา เช่น การปั้นหล่อพระพุทธรูปต่างๆ ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า “ปฏิมากร”
ประติมากรรมปั้นและหล่อ เป็นการปั้นจากวัสดุที่ทำเป็นทรงได้ เช่น ปั้นด้วยดินเหนียว เมื่อปั้นได้รูปลักษณะพอใจแล้วนำไปหล่อด้วยโลหะ หรือปูนพลาสเตอร์ให้มีจำนวนตามต้องการ
ประติมากรรมแกะสลัก เป็นการแกะสลักหรือเจียระไนจากวัตถุต่างๆ เช่น หิน ไม้ งาช้าง หยก เป็นต้น

สถาปัตยกรรม คือ ศิลปะการออกแบบโครงสร้าง การออกแบบก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆอีกด้วย ตลอดจนศิลปะในการจัดตกแต่งบริเวณแลสิ่งแวดล้อมของอาคาร สถานที่ ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ ประกอบไปด้วยความงาม ความมั่นคงแข็งแรง สถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็น 3 สาย คือ งานออกแบบและการก่อสร้าง งานภูมิสถาปัตยกรรมและงานผังเมือง
1.การออกแบบและการก่อสร้าง คือ การออกแบบโครงสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างและการก่อสร้างอาคารชนิดต่างๆ เช่น อาคารพักอาศัย ได้แก่ บ้าน หอพัก
2. ภูมิสถาปัตย์ คือ การออกแบบจัดบริเวณ วางผังบริเวณถนน การวางผังปลูกต้นไม้ การจัดสวน ให้มีความประสานกลมกลืนและสอดคล้องกับธรรมชาติและสิ่งแวด
3. ผังเมือง คือ การออกแบบบริเวณของเมืองหรือท้องถิ่นให้เป็นระเบียบและถูกหลักวิชาการ มีความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อกิจการงานต่างๆ มีความสุขเมื่ออยู่อาศัย ผังเมืองที่ดีต้องมีการวางแผนแม่บทที่สมบูรณ์ เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเมือง หรือท้องถิ่นไว้ล่วงหน้า

ภาพพิมพ์ [Graphic Art] คือ ศิลปะที่ถ่ายทอดภาพวาด ภาพเขียนลงบนแม่พิมพ์ ด้วยการสร้างสรรค์ที่ประกอบไปด้วยเทคนิค วิธีการ ต่างๆ เพื่อให้เกิดผลงานภาพพิมพ์ต้นแบบเพียงภาพเดียว หรือหลายภาพ ศิลปะภาพพิมพ์โดยทั่วไป จะเกิดจากเทคนิคหลัก เช่น กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนบน กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนรอง และกรรมวิธีพิมพ์จากส่วนพื้น เป็นต้น

คุณค่าของทัศนศิลป์
ศิลปะเป็นผลงานของมนุษย์ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมามีหลายลักษณะและวิธีการสร้างแตกต่างกันไป ได้แก่ ภาพเขียน รูปปั้น งานก่อสร้าง งานประพันธ์ รวมถึง เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับตกแต่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาจิตใจให้มีความสุขได้

ทัศนศิลป์ จึงเป็นศิลปะแขนงที่ให้คุณค่าแก่มนุษย์อีกหลายด้าน จะเห็นได้จากประโยชน์ดังต่อไปนี้
ด้านการอยู่อาศัย มนุษย์ได้พัฒนาที่อยู่อาศัยจากอดีตกาลจากถ้ำ เพิงผา มาเป็นบ้านแบบง่ายๆ ต่อมารู้จักต่อเติมตกแต่งให้สวยงามและมีประโยชน์มากขึ้น
ด้านเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน มนุษย์ได้พัฒนาโดยนำศิลปะเข้าไปเกี่ยวข้อง ในรูปของงานหัตถกรรม หรืองานอุตสาหกรรมศิลป์

นอกจากนำศิลปะมาประกอบให้เกิดประโยชน์โดยตรงแล้ว ยังมีส่วนช่วยโน้มน้าวจิตใจให้มีความรักในความงามของธรรมชาติ และความงามของศิลปะ ย่อมจะทำให้จิตใจอ่อนโยน ดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แบบทั้งทางกายและจิตใจ
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาทัศนศิลป์ คือสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์กับการเรียนการปฏิบัติงานในสาขาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม สถาปัตยกรรม สังคมศึกษา สื่อสารมวลชน การออกแบบ การตกแต่งบ้านเรือน ตลอดจนการแต่งกายได้อีกด้วย
ดังนั้นการศึกษาทัศนศิลป์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพ กระทั่งการรู้จักนำศิลปะมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันอย่างสมบูรณ์แบบ และยังสามารถนำคุณค่าเหล่านี้ไปพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติให้เจริญก้าวหน้าสืบต่อไป


ฐานของงานศิลปะ
ฐานของงานศิลปะประกอบด้วย
1. ฐานที่มา
2. ฐานของการรับรู้

ฐานที่มา
มนุษย์ + สิ่งแวดล้อม + สื่อ แล้วจึงได้กลายเป็น ศิลปะ หรือ
Man + Environment + Media กลายเป็น Art
ทัศนะของคนเราแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ธรรมชาติ กล่าวคือ ถ้าเป็นภาพเขียนสิ่งของธรรมชาติหรือ ภาพมนุษย์ ก็จัดได้ว่าเป็นงานประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ ดังนั้นการที่จะหวังให้ศิลปินแสดงทัศนะให้ตรงกับความต้องการของผู้ดูจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก งานศิลปะก็คือ ผลงาน ของการแสดงความรู้สึกนึกคิดเฉพาะตัวของศิลปิน โดยผ่านสื่อกลาง(Media) ออกมาเป็นงานศิลปะ

ฐานที่มาของงานทัศนศิลป์ ประกอบด้วย

1.1 ศิลปิน (Artist) เป็นผู้ถ่ายทอดผลงานศิลปะโดยได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมด้วยความรู้สึกประทับใจหรือเกิดความสะเทือนอารมณ์ จึงถ่ายทอดออกมาตามอารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการเฉพาะตน
1.2 สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่ ธรรมชาติ ความเชื่อทางศาสนา เรื่องจากประวัติศาสตร์ เรื่องราวจากวรรณคดี ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์เกิดอารมณ์ความรู้สึกและแสดงออกด้วยการถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปกรรม
1.3 สื่อ/วัสดุ (Media) ได้แก่ กระดาษ สี ดินสอ หิน ไม้ ปูน ฯลฯ ซึ่งศิลปินได้ซึมซับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม แล้วนำไปถ่ายทอดลงบนสื่อให้ออกมาเป็นรูปธรรม
1.4 ผลงานศิลปะ (ART) เป็นผลงานที่เกิดจากแรงบันดาลใจในสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ โดยผ่านสื่อให้ปรากฏเป็นรูปธรรมเรียกว่า "ผลงานศิลปะ"

ประติมากรรม (Sculpture)

ประติมากรรม (Sculpture)


เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรมจะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ



1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้นได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น

2. การแกะสลัก (Carving)เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น

3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)
4. การประกอบขึ้นรูป (Construction)เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่างๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูงและแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร

ประเภทของงานประติมากรรม


1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ 

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ





ประติมากรรมเป็นผลงานในลักษณะใด
ประติมากรรมเป็นผลงานศิลปกรรมที่เป็นรูปทรง 3 มิติ ประกอบจากความสูง ความกว้างและความนูน หรือความลึก รูปทรงนี้มีปริมาตรที่ จับต้องได้ และกินระวางเนื้อที่ในอากาศ ต่างจากรูปทรงปริมาตรทางจิตรกรรมที่แสดงบนพื้นเรียบเป็นปริมาตรที่ลวงตา ประติมาก รรมเกิดขึ้นจากกรรมวิธีการสร้างสรรค์แบบต่าง ๆ เช่น การปั้นและหล่อ การแกะสลัก การฉลุหรือดุน ประติมากรรมทั่วไปมี 3 แบบคือ ปร ะติมากรรมแบบลอยตัวสามารถดูได้โดยรอบ ประติมากรรมนูน มีพื้นรองรับสามารถดูได้เฉพาะด้านหน้าและด้านเฉียงเท่านั้น แ ละประติมากรรมแบบเจาะ ลึกลงไปในพื้น
ประติมากรรมไทยเป็นผลงานการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษโดยประติมากรของไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อรับใช้สังคม ตอบสนองความเชื่อสร้างความภูมิใจ ความพึงพอใจ และค่านิยมแห่งชาติภูมิของไทย ประติมากรรมไทยส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาทางศาสนา มักปรากฏอยู่ตามวัดแล ะวังมีขนาดตั้งแต่เล็กที่สุด เช่น พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง จนถึงขนาดใหญ่ที่สุด เช่น พระอัจนะหรือพระอัฏฐารส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่กลางแปลงมีทั้งประติมากรรมตกแต่ง ซึ่งตกแต่ง ศิลปวัตถุ ศิลปสถาน เพื่อเสริมคุณค่าแก่ศิลปวัตถุหรือสถานที่นั้น จนถึงป ระติม ากรรมบริสุทธิ์ซึ่งเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่าและคุณสมบัติเฉพาะสมบูรณ์ด้วยตัวของประติมากรรมเอง เมื่อพิจารณาภาพรวมของ ประติมากรรมไทยอาจแบ่งประติมากรรมออกเป็น 3 ประเภทคือ ประติมากรรมรูปเคารพ ประติมากรรมตกแต่ง และประติมากรรมเพื ่อประโยชน์ใช้สอย

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประติมากรรมนูนต่ำ แกะสลักปูนปลาสเตอร์ขนาด ๔๓x๓๒ เซนติเมตร อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

ครุฑยุดนาค ประติมากรรมลอยตัว หล่อด้วยโลหะปิดทองประดับรอบฐานพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

ครุฑ ประติมากรรมนูนสูงประดับอาคารการสื่อสารแห่งประเทศไทย หล่อด้วยซีเมนต์แสดงให้เห็นการคลี่คลายรายละเอียดของครุฑและเครื่องประกอบต่างๆ ให้เข้ากับอาคารแบบตะวันตกในยุคนั้น ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรีเป็นผู้ออกแบบ

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

พระเครื่อง ประติมากรรมขนาดเล็ก

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l1.htm

พระอัฏฐารส วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ มีพระมณฑปล้อมรอบ ศิลปะสมัยสุโขทัย

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550


เป็นหนึ่งในกระท่อม ดีกว่า เป็นสองในกรุงโรม